ความหมายของอาหารประเภทสำรับ
อาหารประเภทสำรับ
จัดทำโดย
นายสุปราณนต์ สาสนะ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6.
โรงเรียนสารสาสน์พิทยา
อาหารนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากที่มนุษย์ต้องการและก็เป็นหนึ่งในสี่ปัจจัยหลัก ของการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอาหารไทยของเราที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เพราะว่ามีสูตรการปรุงการจัดตกแต่ง และรสชาติที่แตกต่างจากชาติอื่น จึงเป็นเหตุให้คนทั่วโลกยกย่องในฝีมือและรสชาติของอาหารไทยให้เป็นอันดับ หนึ่ง
ความหมายและความสำคัญของอาหารประเภทสำรับ
ความหมายของอาหารประเภทสำรับ คือ1. สำรับ คือ ภาชนะที่ใส่จาน ถ้วย
2. อาหารสำรับ หมายถึง การจัดอาหารหลายอย่างหลายชนิดไว้ในสำรับเดียวกัน
3.คนไทยเราตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เวลารับประทานอาหารมักจัดอาหารใส่ในสำรับเดียวกัน เพื่อสะดวกในการจัดและรับประทาน โดยเฉพาะคนแถบภาคเหนือ และ ภาคอีสาน จะนั่งเป็วงกลมรับประทานพร้อมกันทั้งบ้าน ในสำรับนั้นก็จะประกอบด้วย อาหารคาว อาหารหวาน พร้อมเครื่องเคียง จำพวก ผักนาๆชนิด
หลักการเตรียมและการประกอบอาหารประเภทสำรับ
ต้องคำนึงถึงหักต่อไปนี้ คือ
1.คุณค่างทางโภชนาการ อาหารหลัก 5 หมู่
1.คุณค่างทางโภชนาการ อาหารหลัก 5 หมู่
2.หลักของเศรษฐกิจ ฐานะของครอบครัว
3.งบประมาณที่จะทำในแต่ละมื้อ
4.ผู้รับประทานอาหารหรือสมาชิกในครอบครัวกี่คน กี่วัย
5.เวลาหรือมื้อของอาหาร อาหารนั้นเหมาะสมกับมื้อใด
6.ลักษณะของอาหารแต่ละชนิดในแต่ละมื้อ ต้องมีหลากหลาย
7.ชนิดหรือประเภทของอาหาร ในแต่ละมื้อควรมีอาหารต่างกัน
8.การจัดอาหาร ควรเปลี่ยนรายการอาหารทุกวัน
9.ฤดูกาลของอาหาร วัสดุที่จะเลือกซื้อในเวลานั้น
ชนิดของอาหารปรเภทสำรับ
อาหารมีหลากหลายชนิดและมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคตามสภาพ ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม ความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมา สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ได้ 2 ประเภท คือ อาหารคาว และอาหารหวาน
1.อาหารคาว
2.อาหารหวาน
อาหารประเภทแกง
-แกงเผ็ด-
เมื่อแกงแล้วจะมีมันลอยหน้า หอมเครื่องเทศ มีรถเค็ม หวานเล็กน้อย แกงเผ็ดมี 2 ชนิด คือ
-แกงเผ็ดแบบไม่ใส่กะทิ -แกงเผ็ดแบบใส่กระทิ
-แกงคั่ว-
2. แกงคั่ว เป็นแกงที่ใช้น้ำพริกแกงคั่วใส่กะทิ ใช้ผักเป็นหลักและมีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบ
แกงคั่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
-แกงคั่ว -แกงคั่วส้ม
-แกงส้ม-
3.แกงส้ม เป็นแกงที่ใช้น้ำพริกแกงส้มแต่ไม่ใส่กะทิ ลักษณะออกสีส้มมี 3 รส คือ รสเปรี้ยวนำเค็ม และหวานเล็กน้อย แกงส้มมี 3 ชนิด คือ
-แกงส้มพริกสด
-แกงส้มพริกแห้ง
-แกงบอน
อาหารประเภทผัด
-ผัดจืด-
1.ผัดจืด ใช้ผักและเนื้อได้ทุกชนิด ปรุงรสด้วยน้ำปลา หรือซีอิ๊วขาวตามชอบ เช่น ผัดถั่วงอก ผัดฟักทอง ผัดเปี้ยวหวน เป็นต้น
-ผัดเผ็ด-
2.ผัดเผ็ด ใช้เนื้อได้ทุกชนิดผัดกับพริก มี 2 ชนิด -ผัดเผ็ดแบบใช้เครื่องแกง เช่น พะแนงไก่ ผัดเผ็ดปลาดุก ผัดพริกขิงถั่วฟักยาว เป็นต้น-ผัดแบบใช้พริกสด เช่น ผัดกระเพราไก่ ผัดพริกกุ้ง เป็นต้น
อาหารประเภทยำ
-ยำที่มีรสหวาน-
1.ยำที่มีรสหวาน ประกอบด้วยกะทิ มะพร้าวคั่ว เช่น ยำถั่วพู ยำทวาย ยำหัวปลี เป็นต้น ปรุ่งรสหวาน เปี้ยว เค็ม
-ยำที่มีรสเปรี้ยว-
2.ยำที่มีรสเปี้ยว ใช้เนื้อสัตว์ได้ทุกชนิดผัดกับพริกมี 2 ชนิด คือ
-ยำที่ใช้เนื้อสัตว์สุก ปรุงรสเปี้ยว เค็ม หวาน เช่น ยำใหญ่เป็นต้น
-พล่า ใช้เนื้อสุกๆ ดิบๆ เช่น พล่าเนื้อ พล่ากุ้ง เป็นต้น
ประเภทของอาหารสำรับ
1.อาหารที่ต้องมีเครื่องเคียงเครื่องแหนม โดยเครื่องเคียงเป็นอาหารคนละอย่างแต่นำมารับประทานด้วยกัน เพื่อส่งเสริมรสซึ่งกันและกันและกัน เช่น เนื้อเค็มแกงเผ็ด หรือ ไข่เจียวเป็นเครื่องเคียง
สะเดานํ้าปลาหวาน
ข้าวคลุกกะปิแหนมกับหมูหวาน
ข้าวแช่แหนมกับกะปิทอด
อาหารที่ต้องจัดประเภทคู่กับข้าวซึ่งเป็นอาหารหลัก ในแต่ละภาคของไทยจะต้องมีอาหารหลายชนิดที่จัดชุดเข้ากับข้าวเพื่อรับประทานร่วมกัน
ภาคกลาง ข้าวสวยจัดกับแกงมัสมั่นปลาสลิดทอด ผักดองสามรส
ภาคเหนือ ข้าวสวยจัดกับนํ้าพริกหนุ่ม แคปหมู แกงฮัลเล ผักสด ไส้อั่ว
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ข้าวเหนียวจัดกับลาบส้มตำ ไก่ย่าง ต้มแซ่บ ผักสด
ภาคใต้ ข้าวสวยจัดกับแกงส้มหน่อไม้ดอง ผัดสะตอ ปลาทอดขมิ้น ผักเหนาะ
ข้าวยำ ประกอบด้วย ข้าวสวย นํ้าบูดู กุ้งแห้งป่น มะพร้าวหั่นฝอยคั่ว พริกขี้หนูป่น
ถั่วงอก ถั่วฝักยาว มะกรูดหั่นฝอย มะม่วงดิบหั่นฝอย มะนาว
หลักการเตรียมประกอบ จัดตกแต่งอาหารประเภทสำรับ
1.เตรียมอุปกรณ์ ส่วนผสมและเครื่องปรุงก่อนเสมอ
2.ประกอบอาหารอย่างมีสุขอนามัยและสงวนคุณค่าอาหาร
3.จัดอาหารใส่ภาชนะที่เหมาะสมสวยงาม
4.ตกแต่งอาหารให้สวยงามน่ารับประทาน
อ้างอิง:หนังสือการงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3